เหรียญพระแก้วมรกตปี 2475 บล๊อคฮั้งเตี้ยนเซ้ง เนื้อนิกเกิ้ล
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
gorn9 กร เก้ามงคล กร9มงคล | |||||||||||||||
โดย
|
gorn9 | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเกจิทั่วไป | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
เหรียญพระแก้วมรกตปี 2475 บล๊อคฮั้งเตี้ยนเซ้ง เนื้อนิกเกิ้ล |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
เหรียญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ปี 2475 เนื้อนิกเกิ้ล "บล๊อคฮั้งเตี้ยนเซ้ง" ซึ่งเป็นชื่อโรงผลิตเหรียญในห้วงเวลานั้น จัดสร้างด้วยเนื้อนิกเกิ้ล "ขนาดเท่ากับเหรียญ 5 บาท ในปัจจุบัน" "เนื้อนิกเกิ้ล" หรือที่คนในวงการพระมักเรียกเนื้ออัลปาก้า ซึ่งจริงๆแล้วเนื้อโลหะนี้มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ทองแดง สังกะสี และนิกเกิล เป็นธาตุหลัก โดยมี เงิน เหล็ก และตะกั่ว เป็นธาตุรอง ซึ่งเป็นโลหะชนิดเดียวกันกับที่ใช้ผลิตเหรียญกษาปณ์ที่เป็นเงินเหรียญที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ ในปี พ.ศ.2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้ทันกับการสมโภชกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีอายุครบ 150 ปี ใน พ.ศ.2475 โดยทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการประมาณเงินที่จะต้องใช้ในการปฏิสังขรณ์ไว้ 600,000 บาท พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชศรัทธาอุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 200,000 บาท เป็นทุนในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และคณะรัฐบาลอนุมัติเงินแผ่นดินสมทบทุนในการปฏิสังขรณ์อีก 200,000 บาท สำหรับส่วนที่ยังขาดอยู่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯที่จะให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสที่จะบำเพ็ญกุศลร่วมกัน ดังนั้นคณะกรรมการปฏิสังขรณ์จึงได้ดำเนินการเรี่ยไร โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดพนักงานเรี่ยไร มีการโฆษณาประกาศบอกบุญตามใบปลิวที่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจพิมพ์ถวายเมื่อพ.ศ.2473 อนึ่งผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาคปัจจัยร่วมปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้นจะได้รับใบเสร็จเป็นหลักฐานพร้อมเหรียญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจำลองเป็นที่ระลึกตามชั้นและจำนวนเงินที่บริจาค ดังต่อไปนี้ 1. ผู้บริจาคตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองคำ 2. ผู้บริจาคตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วเงิน 3. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองขาว (นิกเกิ้ล) 4. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองแดง เหรียญพระแก้วมรกตที่ระลึกกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 150 ปี เป็นเหรียญปั๊มขึ้นรูปทรงกลม แกะบล๊อคแม่พิมพ์แบบนูนต่ำ มีความคลาสสิคในรูปลักษณ์ - ด้านหน้าเหรียญ ภายในซุ้มเรือนแก้วเป็นรูปพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกตประทับนั่งสมาธิบนปัทมบัลลังก์ (ฐานบัวคว่ำบัวหงาย) มีผ้าทิพย์ห้อยประดับ อีกทั้งมีมวลหมู่ดอกไม้อยู่โดยรอบพื้นผนังเบื้องหลัง - ด้านหลังเหรียญ ผูกยันต์เป็นรูปกงจักร ซึ่งเป็นเครื่องหมายของกระทรวงยุทธนาการ (กระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน) คาดว่าเป็นหน่วยงานที่เป็นแม่งานในการร่วมดำเนินการจัดสร้าง มีอักษรจารึกอักขระ "มรรค 8" โดยอักขระขอมที่ปรากฏ คือ - ทิ คือ สัมมาทิฐิ - สํ คือ สัมมาสังกัปโป - วา คือ สัมมาวาจา - กํ คือ สัมมากัมมันโต - อา คือ สัม อาชิโว - วา คือ สัมมา วายาโม - ส คือ สัมมา สติ - สํ คือ สัมมาสมาธิ ที่ริมขอบเหรียญด้านหลัง บางเหรียญจะมีชื่อผู้ผลิตแตกต่างกันดังนี้ - เพาะช่าง - สุวรรณประดิษฐ์ - นาถาจารุประกร - ฮั้งเตี้ยนเซ้ง และ - Georges Hantz Geneve U.G.D. (บล๊อคนอก หรือ บล๊อคเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ซึ่งชื่อดังกล่าวข้างต้นนั้นในวงการฯใช้เป็นชื่อเรียกขานเป็นบล๊อคต่างๆของเหรียญ สำหรับเหรียญพระแก้วมรกตที่ระลึกสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี บล็อกที่สั่งผลิตจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีอักษรจารึกบ่งบอกอยู่ที่ด้านหลังเหรียญไว้ว่า "Georges Hantz Geneve U.G.D." หรือที่นักสะสมพระเครื่องนิยมเรียกกันว่า "บล็อกนอก" นั้นเป็นที่นิยมมากที่สุด อีกทั้งมีมูลค่าการสะสมสูงกว่าเหรียญ "บล็อกใน" มาก - เ นื้ อ ท อ ง คำ ค่านิยมอยู่ที่หลายแสนบาท - เ นื้ อ เ งิ น ค่านิยมอยู่ที่หลายหมื่นบาทถึงแสน - เ นื้ อ นิ ก เ กิ้ล ค่านิยมอยู่ที่ 2-3 หมื่นบาท ส่วน "เหรียญบล็อกใน" - เนื้อทองคำ หลักแสน - เนื้อเงิน 3-4 หมื่น - เนื้อนิกเกิ้ลหมื่นกว่า - ทองแดง 2-3 พัน โดยแต่เนื้อ และแต่ละบล๊อค จะถูกแพงกว่ากันก็อยู่ที่ "ความสวยงาม ความคมชัด และความสมบูรณ์ในแบบสภาพเดิมเดิม" รายนามคณาจารย์ปลุกเสก ( อ้างอิงจากสำนักงานวัดพระแก้ว ) 1. พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิตร กทม. 2. สมเด็จพระวันรัต ( แพ ติสฺสเทโว ) วัดสุทัศน์ กทม. 3. พระโพธิวงศาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม กทม. 4. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดโพธิ์ กทม. 5. หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา 6. หลวงพ่อเข้ม วัดม่วง ราชบุรี 7. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม 8. หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี 9. หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบลฯ 10. หลวงพ่อเปี้ยน วัดโพธิราม สุพรรณบุรี 11. หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน ลพบุรี 12. เจ้าคุณอุบาลี สิริจันโท วัดบรมนิวาส กทม. 13. หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ สมุทรสงคราม 14. หลวงพ่อแฉ่ง วัดพิกุลเงิน นนทบุรี 15. หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ กทม. 16. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กทม. 17. หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา 18. หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย สระบุรี 19. หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง กทม. 20. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์ 21. หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สมุทรสงคราม 22. หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี สิงห์บุรี 23. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี 24. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี 25. หลวงพ่อทอง วัดเขากบ นครสวรรค์ 26. หลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล ราชบุรี 27. หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี 28. หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม สมุทรสงคราม 29. หลวงพ่อชม วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา 30. หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสงคราม 31. หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน นครสวรรค์ 32. หลวงพ่อคง วัดใหม่บำเพ็ญบุญ กทม. 33. หลวงพ่อญัติ วัดสายไหม ปทุมธานี 34. หลวงพ่อพร วัดดอนเมือง กทม. 35. หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ 36. หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ สิงห์บุรี 37. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา 38. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี 39. หลวงพ่อพิธ วัดฆะฆัง พิจิตร 40. หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี 41. หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ กทม. 42. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ประจวบฯ 43. เจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) วัดสุทัศน์ กทม. |
|||||||||||||||
ราคา
|
โทรถาม | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0918924165 | |||||||||||||||
ID LINE
|
Jhakrspong | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
1,401 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 092-2-01978-7
|
|||||||||||||||
|